Monthly Archives: October 2019

อุปกรณ์สำหรับ การดูแลผู้สูงอายุ

อุปกรณ์เสริมจึงเป็นตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดูผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัย และช่วยผ่อนแรงของผู้ดูแลได้ ผู้สูงอายุระดับ 1-2 ต้องการความช่วยเหลือในบางส่วน เช่นการเดิน และการขับถ่าย อุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก : ราวจับช่วยในการพยุงตัวของผู้ป่วย ไม้เท้าช่วยเดิน เก้าอี้อาบน้ำ อุปกรณ์ใน การดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุระดับ 3 ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือเกือบทุกอย่าง เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ขับถ่าย  เดิน และการนั่งรถเข็นผู้ป่วย อุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก : เก้าอี้อาบน้ำ เก้าอี้นั่งถ่าย รถเข็นผู้ป่วย เสาดึงตัวช่วยในการลุกจากเตียง ผู้สูงอายุระดับ 4 ผู้ป่วยที่ต้องการการช่วยเหลือทุกอย่าง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น การขยับ และพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ แต่งตัว  กินอาหาร การแปรงฟัน ขับถ่าย และการนั่งรถเข็นผู้ป่วย อุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก : เตียงนอนที่มีราวข้างเตียง และสามารถปรับระดับได้ หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่นอนป้องโฟมกันแผลกดทับ รถเข็นผู้ป่วย กระโถนสำหรับผู้ป่วย รถเข็นอาบน้ำและนั่งถ่าย กระบอกใส่ปัสสาวะ ขอบคุณข้อมูลจาก phartrillion.com

Posted in Uncategorized

อาหารในผู้สูงอายุ

หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ให้สารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีหน้าที่เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป ควรรับประทานประมาณ 2-3ช้อนโต๊ะต่อมื้อ ปลา เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุ แต่ควรแกะก้างออกให้หมด ไข่ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ไข่แดง มีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ปกติสามารถรับประทานได้สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง แต่ถ้าผู้สูงอายุที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงควรลดจำนวนลงหรือบริโภคเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น นม เป็นอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง ผู้สูงอายุควรดื่มวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงหรือน้ำหนักตัวมากอาจดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมถั่วเหลืองแทนได้ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก ใช้แทนอาหารพวกเนื้อสัตว์ได้ หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน อาหารหมู่นี้ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตมีหน้าที่ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้สูงอายุต้องการอาหารหมู่นี้ลดลงกว่าวัยทำงาน จึงควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม คือ ข้าวมื้อละ 2 ทัพพี ควรเลือกเป็นข้าวไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและของหวาน หมู่ที่ 3 ผักต่าง ๆ ผักให้สารอาหารพวกวิตามินและแร่ธาตุ ผู้สูงอายุควรเลือกกิน ผักหลาย ๆ ชนิดสลับกัน ควรปรุงโดยวิธีต้มสุกหรือนึ่งเพราะจะทำให้ย่อยง่ายและช่วยให้ขับถ่ายเป็นปกติ แต่ละวันผู้สูงอายุควรรับประทานผักให้ได้มื้อละ 2 ทัพพี หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ เป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายคล้ายอาหารหมู่ที่ 3 มีวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย และยังมีรสหวานหอม มีปริมาณของน้ำอยู่มาก ทำให้ ร่างกายสดชื่นเมื่อได้กินผลไม้ ผู้สูงอายุสามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิดและควรกินผลไม้ ทุกวันเพื่อจะได้รับวิตามินซีและเส้นใยอาหาร ควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอ กล้วยสุก ส้ม ควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 6-8 ชิ้น สำหรับผู้สูงอายุที่อ้วนหรือเป็นเบาหวานให้หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน หมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช อาหารหมู่นี้นอกจากจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามินเอ ดี และเค ผู้สูงอายุต้องการไขมันในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ และถ้าบริโภคไขมันมากเกินไป จะทำให้อ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการท้องอืดท้อง เฟ้อหลังอาหารได้ ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกปรุงอาหาร เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไขมันจากสัตว์ ขอบคุณข้อมูลจาก สสส

Posted in Uncategorized

หลักการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

1. อาหาร ในผู้สูงอายุต้องการพลังงานลดลง แต่ความต้องการสารอาหารต่างๆ ยังใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ควรลดอาหารประเภทไขมัน (น้ำมันจากสัตว์ และพืช ไข่แดงเนย) ประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง และน้ำตาล) ผู้สูงอายุ ควรได้รับโปรตีน หรือกลุ่มเนื้อสัตว์ ประมาณ 50-60 กรัมต่อวัน ควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย โดยเฉพาะปลาจะดีที่สุด ผู้สูงอายุกินไข่ขาวได้ไม่จำกัด แต่ควรกินไข่แดงไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ ควรกินผักทั้งผักที่ใช้ใบ หัว และถั่วต่างๆ รวมถึงรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัด เพราะถ้ารับประทานหวานมาก อาจจะทำให้เกิดโรคเบาหวาน ตามมาได้ 2. ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุควรออกกำลังกาย สัปดาห์ละประมาณ 3-4 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายมีความคล่องตัว แข็งแรง ลดการนอนติดเตียง ซึ่งจะทำให้การทรงตัว และการเคลื่อนไหวดีขึ้น ไม่หกล้มง่าย 3. ร่างกาย พยายาม ลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้า หรือพฤติกรรมเสี่ยง ต่าง ๆ รวมทั้งสังเกตการทำงานของอวัยวะในร่างกาย รวมถึงการขับถ่าย เป็นต้น พร้อมทั้งเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่อายุประมาณ 65 ปี เป็นต้นไป 4. การขับถ่าย ต้องให้ความสนใจเรื่องการขับถ่ายของผู้สูงอายุ บางรายอาจมีปัญหาระบบขับถ่าย ถ่ายยาก ถ่ายลำบาก หรือกลั้นขับถ่ายไม่ได้ ซึ่งจะต้องคอยสอบถาม และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด 5. อากาศ ผู้สูงอายุหลายท่านอาจเกิดความเบื่อ หรือมีภาวะติดเตียง ซึ่งควรมีการพาผู้สูงอายุออกไปรับอากาศนอกบ้าน รับแสงอาทิตย์บ้างอย่างสมั่มเสมอ นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังมีผลดีต้ออารมณ์อีกด้วย หากได้รับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสม 6. อารมณ์ ผู้ดูแลควรใส่ใจ และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้สูงอายุ และจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้การมีชีวิตอยู่แต่ละวันมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น ผู้สูงอายุควรพยายามเข้าร่วมในสังคมกลุ่มต่างๆ ตามสมควร การมีเพื่อนรุ่นเดียวกัน หรือต่างรุ่นจะทำให้มีความอบอุ่น รู้สึกถึงคุณค่าของตน และลดโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ 7. อุบัติเหตุ ในผู้สูงอายุอาจทำให้เกิดความบาดเจ็บ หรือความพิการต่างๆ ได้ทุกเวลา ควรดูแลสภาพบ้านเรือนให้ปลอดภัย มีแสงสว่างพอเหมาะ ของไม่รก พื้นไม่ลื่น หรือควรมีราวจับในบริเวณที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยๆ เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น ขอบคุณข้อมูลจาก รพ. เปาโล

Posted in Uncategorized

การเตรียมตัว เมื่อไปเที่ยวกับผู้สูงอายุ

1.วางโปรแกรมให้เหมาะสม การวางแผนการท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญในการเดินทางกับผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก สภาพอากาศ เสื้อผ้า การคมนาคม กิจกรรมที่ต้องทำ อาหารการกิน ควรเลือกสถานที่ท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงระยะทางและความสมบุกสมบัน ข้อแรกควรเป็นที่ที่รถยนต์เข้าถึง ไม่ต้องเดินไกล และไม่ต้องปีนป่าย 2.ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มทริป จำเป็นต้องพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพก่อนการเดินทางไกลหลายวัน กรณีจะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ก่อนจะเข้าบางประเทศได้ก็ต้องฉีดวัคซีนให้พร้อมเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ด้วย เพราะผู้สูงอายุมีโอกาสป่วยมากกว่าวัยรุ่น เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้สูงวัยเอง และยังช่วยให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น 3.แจ้งขอใช้บริการวีลแชร์ ติดต่อสายการบินไว้แต่เนิ่น ๆ หากผู้ร่วมทริปสูงวัยมีปัญหาเรื่องการเดิน หรือปัญหาสุขภาพ 4.ตรวจสอบสิทธิผู้สูงอายุ ที่เที่ยวบางแห่งมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยววัยเกษียณ ก่อนซื้อตั๋วเข้าชมหรือใช้บริการ ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อบัตรเพื่อสิทธิประโยชน์ในการท่องเที่ยว 5.ช่วยผู้สูงวัยจัดกระเป๋า นอกจากจะดูว่าได้เตรียมทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการเดินทางแล้ว อย่าลืมตรวจสอบว่าต้องนำยาประจำตัวไปให้เพียงพอตลอดทริปแล้วหรือยัง 6.ดูแลเรื่องอาหารให้กับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุบางท่านมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารประเภทต่าง ๆ ควรตรวจสอบให้ดีว่าเมนูประเภทไหนที่ผู้สูงอายุทานได้หรือไม่ได้ อาจจะต้องระวังเรื่องอาหารที่หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด หรือไขมันสูง 7.อย่าลืมทำประกันการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นทริปต่างประเทศหรือในประเทศ ควรมีประกันสุขภาพและอุบัติเหตุให้ครอบคลุมเสมอ ขอบคุณข้อมูลจาก blog.travizgo.com

Posted in Uncategorized

เทคนิคสำหรับผู้ดูแล ผู้สูงอายุ

การมองเห็น ผู้สูงอายุจะมีการมองเห็นที่ลดลง เนื่องจากสายตาที่ยาวขึ้น ความสำคัญของผู้ดูแลคือ ปัญหาสายตาที่ทำให้การมองเห็นแย่ลง ทำให้มีโอกาสหกล้มมากขึ้น ดังนั้นการจัดวางแว่นตาให้หยิบใส่ได้สะดวก หรือ การจัดความสว่างของแสงไฟให้เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มได้ การได้ยิน การได้ยินจะลดลงเรื่อยๆ สิ่งที่น่าสนใจคือความสามารถได้ยินเสียงสูงๆ จะลดลง ดังนั้นการสื่อสารกับผู้สูงอายุควรใช้เสียงต่ำ ในการพูดคุย การเร่งเสียงตะโกนจะทำให้เสียงสูงขึ้นและการได้ยินยากขึ้น เกร็ดความรู้สำหรับผู้ดูแล พูดกับผู้สูงอายุด้วยเสียงต่ำ พูดช้าๆ เว้นวรรคให้ชัดเจน การพูดโดยให้ผู้สูงอายุเห็นปาก และสบตาจะทำให้การเข้าใจดีขึ้น กล้ามเนื้อ ถ้าผู้สุงอายุนอนติดเตียงเป็นเวลานานกว่า 1 วัน กล้ามเนื้อจะมีการฝ่อตัวลงทันที ทำให้หลายครั้งเราจะพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าโรงพยาบาล 1 สัปดาห์หากไม่ได้กายภาพ หรือเคลื่อนไหวเลย หลายครั้งทำให้ผู้สูงอายุอ่อนแรงกลายเป็นคนติดเตียงทันที เกร็ดความรู้สำหรับผู้ดูแล เราควรรักษามวลกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุ ควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมเคลื่อนที่ และใช้กล้ามเนื้อ หากผู้สูงอายุไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ควรทำกายภาพพื้นฐาน เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ การรับประทานอาหารที่มีโปรตีน ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน กระดูก ความหนาแน่นของกระดูกจะเพิ่มขึ้นสูงสุดประมาณอายุ 30 ปี จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง ในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนสูงกว่าผู้ชาย เกร็ดความรู้สำหรับผู้ดูแล กระดูกพรุนทำให้การหกล้ม หรือกระแทกทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้สูง ดังนั้นผู้ดูแลต้องคิดในใจเสมอว่าผู้สูงอายุทุกคนมีภาวะกระดูกพรุน ผู้สูงอายุอาจมีส่วนสูงที่ลดลงจากกระดูกที่ทรุดตัว หัวใจ การบีบตัวของหัวใจเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายจะลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเหนื่อยได้ง่ายกว่าปกติ และในกรณีมีการเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว เช่นการลุกขึ้นยืนจากท่านั่งเร็วๆ อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอได้ หลอดเลือดหัวใจก็มีการหนาตัวมากขึ้นจากการสะสมไขมัน ทำให้มีโอกาสตีบตันได้ง่ายขึ้น เกร็ดความรู้สำหรับผู้ดูแล ผู้ดูแลควรให้ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงอริยาบทอย่างช้าๆ เพื่อให้หัวใจสามารถทำงานบีบเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้เพียงพอ อาการเจ็บแน่นหน้าอกในผู้สูงอายุ ผู้ดูแลจะต้องระวังไว้เสมอว่าอาจเป็นอาการแสดงของภาวะโรคหัวใจ ผิวหนัง ต่อมเหงื่อของผู้สูงอายุจะฝ่อลดลง ทำให้ผิวแห้งได้ง่าย ทำให้เกิดอาการคันได้ ผิวหนังจะบางลงทำให้เกิดแผลหรือจ้ำเลือดได้ง่าย เกร็ดสำหรับผู้ดูแล ควรทาโลชั่น หรือครีมบำรุงเพื่อรักษาความชุ่มชื้นไม่ให้ผิวแห้ง การเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุต้องระวังการเสียดสีที่ผิวหนัง เพราะอาจทำให้เกิดแผล และนำไปสู่การติดเชื้อได้ ระบบการหายใจ เยื่อบุท่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคมีจำนวนน้อยลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อที่ปอดได้ง่ายขึ้น ความจุปอดลดลง ทำให้มีอาการเหนื่อยได้ง่ายขึ้น ระบบทางเดินอาหาร ต่อมรับรสชาติของอาหารลดลง ต่อมน้ำลายลดลง ทำให้ผู้สูงอายุปากคอแห้งและรับรสชาติได้ไม่ดี ทำให้ความอยากอาหารลดลง เคี้ยวอาหารได้ไม่ดี กระเพาะอาหารบีบไล่อาหารได้ช้าลง ทำให้อิ่มง่าย ท้องอืดเฟ้อได้ง่าย ระบบทางเดินปัสสวะ สำหรับชายสูงอายุมีต่อมลูกหมากโตขึ้น ทำให้ปัสสวะไม่ค่อยพุ่ง ต้องเบ่งนาน และรู้สึกขัดเวลาปัสสวะ ตื่นมาปัสสวะตอนกลางคืน เพราะความจุของกระเพาะปัสสวะลดลง เกร็ดสำหรับผู้ดูแล ต้องจำกัดน้ำก่อนเวลาเข้านอน เพราะการที่ต้องตื่นบ่ายจะทำให้คุณภาพในการนอนลดลง ระบบประสาท ความสามารถในการจำเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นไม่นานลดลง และมีความคิดช้าลง แต่ไม่รบกวนกิจวัตรชีวิตประจำวัน เกร็ดสำหรับผู้ดูแล ในกรณีที่การลืมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หรือ มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจมีภาวะสมองเสื่อม ระบบภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุจะต่ำลง สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ลดลง เกร็ดสำหรับผู้ดูแล ผู้ดูแลควรฉีดวัคซีน และ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อให้ผู้สูงอายุ ขอบคุณข้อมูลจาก health at home

Posted in Uncategorized

6 วิธีแก้หน้าไหม้จากแดด

1.ว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้สามารถรักษาอารการแสบร้อนจากหน้าไหม้ได้ โดยการขูดเอาวุ้นในว่านหางจระเข้มาทาบริเวณผิวหน้าสัก 1 ชั่วโมงแล้วล้างออก ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด และช่วยในการดับพิษร้อนบนผิวหนัง หรือเลือกใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ก็ช่วยได้ดีในเรื่องการบำรุงผิว นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยได้ด้วย 2.นม และ โยเกิร์ต ใช้น้ำนมจืดแช่เย็น เทลงภาชนะแล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำนมหรือเม็ดมาส์กมาแช่ไว้จากนั้นก็ทำการมาส์กหรือประคบจุดที่มีอาการผิวไหม้หรือลอกประมาณ 15-20 นาที จะช่วยลดอาการแสบไหม้บนใบหน้า แลช่วยฟื้นฟูการซ่อมแซมผิว ส่วนโยเกิร์ตช่วยบรรเทาอาการผิวไหม้จากแสงแดด ใช้โยเกิร์ตพอกเพื่อให้ความ ชุ่มชื้นแก่บริเวณนั้น โดยทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 นาทีแล้วล้างออก ช่วยในการให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง ช่วยฟื้นฟูใบ หน้าที่หมองคล้ำให้กลับมาเนียนนุ่ม กระจ่างใส 3.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ มอยเจอร์ไรเซอร์ เมื่อผิวหน้าของเราต้องเจอความร้อนจากแสงแดดนานๆ อาจทำให้ผิวของเราสูญเสียความชุ่มชื้นไปได้ ดังนั้นเราควรเติมความชุ่มชื้นให้กับผิว ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ อาจเป็นครีมบำรุงหรือโลชั่นก็ได้ทาเป็นประจำแล้วผิวจะกลับมาใสเหมือนเดิม 4.ลดอาการแสบร้อนด้วยถุงชา ถือเป็นวิธีที่แปลกแต่ก็ได้ผลจริงๆ เพราะถุงชาเป็นอีกวิธีช่วยลดอาการหน้าไหม้ได้ดี โดยการน้ำถุงชาไปแช่ในน้ำเย็นๆ แล้วนำมาวางจุดที่ผิวมีอาการแสบร้อน บวมแดงจากแดดทิ้งไว้ 10-15นาที จะช่วยให้อาการดีขึ้น 5.น้ำผึ้ง โดยการนำน้ำผึ้งมาทาไว้ทั่วใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณที่ลอกหรือไหม้ น้ำผึ้งจะช่วยฟื้นฟูทำให้เซลล์ผิวที่ถูกทำลายกลับมาสดใส ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื้น เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้นช่วยสมานผิว แถมยังทำให้หน้าชุ่มชื่นอีกด้วย 6.แตงกวา นำแตงกวามาหั่นเป็นแว่นบางๆ จากนั่นนำมาวางทั่วใบหน้าที่มีอาการผิวลอกจากแดด เพราะความเย็นจากแตงกวาจะลดอาการผิวไหม้ได้ แถมแตงกวายังมีวิตามินที่ช่วยฟิ้นฟูสภาพผิวให้กลับมาชุ่มชื้นและเนียนนุ่มอีกครั้ง ขอบคุณข้อมูลจาก kuteclub

Posted in Uncategorized

6 ท่าออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ

1. Plantar Flexion หรือท่าเขย่งฝ่าเท้า สำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังที่ง่าย และเชฟเป็นเรื่องที่ดีที่สุดการออกกำลังกาย ท่านี้ไม่มีอะไรยุ่งหรือยาก เพียงแค่มองหาโต๊ะตู้ หรือเก้าอี้ที่มั่นคง จากนั้นให้ใช้มือข้างหนึ่งข้างใด หรือทั้งสองจับอุปกรณ์ดังกล่าว พร้อมกับ ยืนปรับหลังให้ตรง ค่อยๆเขย่งปลายเท้าช้าๆ สูงสุดเท่าที่จะสูงได้ โดยค้างทิ้งไว้ประมาณ 3วินาที จึงค่อยลดส้นเท้าลงทำสลับไปมา 2. Knee Extension หรือท่าเหยียดเข่า เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงสักตัว จากนั้นค่อยๆ เหยียดขา ข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมกับตั้งปลายเท้าค้างไว้ประมาณ 5วินาที ก่อนจะผ่อน ปลายเท้า พร้อมกับลดขากลับสู่ท่าเดิมทำสลับไปมาทั้ง สองข้าง เพื่อยืดเส้น และข้อ 3. Knee Flexion ท่างอเข่า หลังจบท่าเหยียดเข่าแล้วก็มาถึงท่างอเข่า เริ่มที่ยืน จับโต๊ะ หรือโซฟา ยืดหลังให้ตรงเหมือนท่า Planter หรือท่าเขย่งฝ่าเท้า จากนั้นค่อยๆงอเข่าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ค้างไว้ 3วินาที ทำสลับไปมาทั้งสองข้าง 4. Side Leg Raise ท่าเหยียดขาไปข้างหน้า ยืนตรงชิดเก้าอี้ จากนั้นให้แยกเท้าประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ต่อด้วยค่อยๆ เหยียดขาข้างขวาไปข้างหน้าค้างไว้ประมาณ 3วินาที จึงค่อยๆ ลดขาลง กลับสู่ท่าเดิม ให้ทำสลับกันทั้งขาซ้าย ขวา 5. Hip Extension ท่าเหยียดสะโพก ทันทีที่จบท่าที่ 4แล้ว ให้ขยับออกมายืนห่างจากโต๊ะ หรือเก้าอี้ ประมาณ 1 ฟุต แล้วจึงยกขาขวาไปข้างหลัง โดยที่ขาอยู่ในลักษณะตรง ค้างไว้ประมาณ 3วินาที จากนั้นค่อยๆ ทำสลับกับขาข้างซ้ายไปมา 6. Hip Flexion ท่างอสะโพก เมื่อจบท่าเหยียดสะโพกแล้ว ก็มาถึงท่าสุดท้ายของเช็ตออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เริ่มที่ยังอยู่ในท่ายืนตรงสองมือจับเก้าอี้ไว้เหมือนเดิม จากนั้นให้ค่อยๆ งอเข่าข้างใดข้างหนึ่งมาหาหน้าอก โดยที่เอวยังอยู่ในลักษณะตั้งตรง ค้างไว้สักประมาณ 3วินาที แล้วค่อยลดหัวเข่าลง ทำสลับไปทั้งสองข้าง ทั้งนี้แต่ละท่าให้ผู้สูงอายุ ทำ 8-15 เซ็ตต่อครั้ง โดยพักครั้งละ 1-3 นาที จากนั้นให้ทำซ้ำอีก 2-3 เช็ต ขึ้นอายุกับสภาพร่างกาย และจิตใจ และความเหมาะสมของสุขภาพด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก มลูนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

Posted in Uncategorized

5 ข้อ ควรระวัง ของผู้สูงอายุ

มีดังนี้ 1. ระวังการเคลื่อนไหว ในการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ นั้น ควรค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อน ไม่หุนหัน เพราะอาจทำให้หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ และหกล้มจนเป็นอันตรายได้ 2. ระวังเรื่องอาหาร ในการทานอาหาร ควรเลือกอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เคี้ยวได้ง่าย ย่อยง่าย สารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน ไม่รสจัดเกินไป หลีกเลี่ยงของหวาน และไขมัน รวมถึงค่อยๆ ทาน ไม่รีบร้อน เพราะอาจติดคอได้ 3. ระวังการใช้ถนน หมายถึงการเดิน การข้ามถนน รวมถึงการขับขี่รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ เนื่องจากปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกาย ปัญหาสายตา และโรคประจำตัวบางอย่าง ซึ่งมีผลให้เกิดอันตรายขึ้นได้ 4. ระวังการทำกิจกรรม ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากๆ กิจกรรมที่ต้องยืนๆ นั่งๆ หรือก้ม เงย บ่อยๆ เพราะอาจหน้ามืด หกล้ม กระดูกหัก ความดันขึ้นสูง หายใจไม่ทัน หรือเป็นอันตรายได้ 5. ระวังความคิด สิ่งที่สำคัญที่บั่นทอนการใช้ชีวิตที่มีความสุขของผู้สูงอายุก็คือ ความคิด ดังนั้น ควรระวังความคิด คิดแต่ในสิ่งที่ดี คิดบวก ไม่มองโลกในแง่ลบ ไม่วิตกกังวลกับสิ่งรอบตัว หรือความเปลี่ยนแปลง ก็จะช่วยให้จิตใจผ่องใส มีความสุขในทุกวันได้ ขอบคุณข้อมูลจาก Thaiseniormarket

Posted in Uncategorized